‘Inspiration’ กับ การทำงาน
การทำงานในองค์กรเรามักจะคุ้นเคยกับการใช้วิธีการกระตุ้นหลาย ๆ ด้าน เพื่อทำให้พนักงานในองค์กรมีแรงขับเคลื่อน เพิ่มเติมเสริมสร้างประสิทธิภาพที่ดีในการทำงาน ซึ่งในบางครั้งวิธีต่าง ๆ เหล่านั้นก็ไม่สามารถทำให้พนักงานในองค์กรทำงานได้ดีขึ้นกว่าเดิมสักเท่าไหร่
“การหาแรงบันดาลใจในการทำงาน” จึงเป็นกลยุทธ์ใหม่ที่หลาย ๆ องค์กรต่างนำมาใช้ โดยพยายามผลักดันให้พนักงานหาวิธีที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้นด้วยวิธีการใหม่ ๆ
ผมใคร่ขอเสนอแนะวิธีการ “สร้างแรงบันดาลใจในที่ทำงาน” แบบง่าย ๆ เพื่อตอบโจทย์การทำงานอย่างยั่งยืนใน 3 โหมด เพื่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และแรงบันดาลใจ
- องค์กรต้องไม่เค็ม ๆ งก ๆ ต้องสามารถจ่ายค่าตอบแทน, เงินเดือน, สวัสดิการ, โบนัส ต่าง ๆ
ให้แก่พนักงานในองค์กรได้ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญอันดับต้น ๆ ถ้าองค์กรไม่สามารถให้สิ่งเหล่านี้ได้ ต่อให้พยายามกระตุ้นเรื่องแรงบันดาลใจสักแค่ไหน พนักงานก็คงไม่อยากจะบันดาลใจด้วยแน่นอน เพราะคงไม่มีใครอยากทำงานให้กับองค์กรที่ขึ้นชื่อว่า “ทำงานอย่างเทพ ได้เงินเดือนอย่างทาส” ว่าไหมครับ
- ถ้าสามารถจ่ายได้ตามข้อที่ 1 ก็ต้องดูต่อไปว่า สิ่งที่จ่ายได้นั้นเป็นธรรมกับพนักงานไหม หรือเป็นแค่การจ่ายอย่างเสียมิได้ การจ่ายอะไรก็ตามต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ทั้งกับพนักงานและกับองค์กรด้วย
- สามารถแข่งขันกับตลาดได้ไหม ไม่ใช่บอกว่าจ่ายเพิ่มได้ แต่พอหันกลับไปมองดูบริษัทคู่แข่ง
หรือองค์กรข้างเคียงกลับดูต่ำต้อยเตี้ยดินเลย ถ้าอย่างนั้นจะเข้าตำรา “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย” เพราะถ้าเป็นเช่นนี้ อีกไม่นาน คนของเราก็จะทยอยลาออกไปยังบริษัทข้างเคียงกันหมดแน่นอน
แนวทางการพัฒนาและสร้างแรงบันดาลใจในตนเองอย่างง่าย ๆ คือ กระบวนการคิดย้อนศร ซึ่งมนุษย์อย่างเรา ๆ ไม่ค่อยจะทำกันและมักจะหลงลืมกันไปเสียมาก
ชีวิตที่ผ่านไปในแต่ละวัน มีผู้คนมากมายวนเวียนเข้าหาเราในหลากหลายรูปแบบ
-มีคนคอยสอนสั่งเรา
-มีคนคอยช่วยเหลือเรา
-มีคนคอยให้โอกาสเรา
-มีคนมาคอยดูแลเรา
-มีคนมาคอยแนะนำเรา
และอื่น ๆ อีกมากที่คนเหล่านั้นต่างให้ความช่วยเหลือเราในสถานการณ์ต่าง ๆ
เราเคยย้อนคิดกันบ้างไหมว่า พอเขาเหล่านั้นช่วยเราสำเร็จแล้ว…
เราได้ขอบคุณเขาหรือยัง? เราได้ตอบแทนเขาหรือเปล่า?
ทำไมเรามักจะหลงลืมการช่วยเหลือเหล่านั้นไป?
ขอให้ทบทวนกันสักนิดว่า แรงบันดาลใจต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเรานั้นจะสมบูรณ์แบบไม่ได้เลย หากขาดชิ้นส่วนหรือส่วนผสมที่สำคัญ และส่วนผสมที่ว่านั้น คือ “ใจเขา ใจเรา” และ “การมองเห็นคุณค่าซึ่งกันและกัน”
คนทุกคนในองค์กรต่างมีคุณค่าที่จะคอยเกื้อกูลกัน บ่มเพาะความงอกงามที่พร้อมจะเติบโตไปด้วยกัน เพื่อการสานต่อเกิดขึ้นเป็น “องค์กรการจัดการตนเอง” ร่วมกันต่อไปอย่างยั่งยืน