Top

2017 : The Way to Exit

2017 : The Way to Exit

Text: Boonake A.

Photo: Viriya L.

 

 

รูปฟอร์มของเศรษฐกิจไทยในปี 2017 นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์หลายคนต่างออกมาให้ความเห็นไปในทางเดียวกัน ระบบเศรษฐกิจบ้านเราอาจจะได้เจอกับภาวะวิกฤติชนิดรุนแรง ซึ่งผลของวิกฤติที่ว่าจะส่งแรงกระเพื่อมวงกว้างไปยังทุกส่วน ทำลายความมั่งคั่งของหน่วยธุรกิจในบ้านเราได้อย่างมหาศาล

ความอึมครึมทางการตลาดนี้ส่งผลกระทบเต็ม ๆ กับอุตสาหกรรมอีเว้นท์ทุกรูปแบบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ น่าจะทำให้ปีนี้เป็นอีกปีที่หนักมากสำหรับผู้ประกอบการอีเว้นท์ทุกเจ้าในการแสวงหาหนทางอยู่รอดเพื่อเปลี่ยนแปลงที่สามารถพาองค์กรไปสู่ทางออกของปัญหาในที่สุด

แต่การขยับปรับเปลี่ยนอย่างไร หรือเพิ่มเติมด้วยองค์ความรู้อะไรนั้น MKT Event ฉบับนี้ได้เลือกเอาเทรนด์ระดับครีม ๆ ล่าสุดในวงการอีเว้นท์ระดับโลกประจำปี 2017 มาให้คุณอ่าน ทั้งยังเพิ่มความหนักแน่นด้วยบทสัมภาษณ์ขนาดสั้น ๆ ของ 12 บริษัทอีเว้นท์ชั้นนำ ที่จะมาแชร์ไอเดียรวมถึงแนวโน้มภาพรวมของอุตสาหกรรมนี้ และวิธีการสร้างภูมิปัญญาเพื่อแสวงหาทางออกอันสามารถนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จอย่างมั่นคงได้ตลอดปีนี้

 

  1. ใช้ความสงบสยบความเคลื่อนไหว

สิ่งหนึ่งที่เห็นแน่นอนในงานอีเว้นท์ที่ถูกจัดขึ้นเพื่อเรียกร้องความสนใจจากคนที่เดินผ่านไปมา นั่นก็คือเสียงอึกทึกครึกโครม ทั้งเสียงดนตรี เสียงของพรีเซนเทชั่น รวมถึงเสียงพูดดังสนั่นของพิธีกร เราเลยอยากให้ออแกไนเซอร์ทั้งหลายลองตั้งข้อสงสัยเพื่อถามใจดูว่า กับงานอีเว้นท์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเชื่อมต่อกับความรับรู้ของคนนั้น การใช้เสียงดัง ๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจนั้นมันใช่หรือ? ถ้าคุณตอบว่า ไม่ใช่! แสดงว่าคุณมาถูกทางแล้ว เพราะในการใช้ความสงบ (Quietness) เพื่อสยบความเคลื่อนไหวในโลกของงานอีเว้นท์ที่แสนยุ่งเหยิง มันได้กลายเป็นเทรนด์สำคัญที่จะถูกนำมาใช้ในงานประชุม สัมมนา หรืองานแสดงสินค้าทั้งหลาย ความเงียบงันที่ว่านั้นมีผลดีกับตารางงาน ทำให้เกิดความเป็นระบบระเบียบมากขึ้น ทั้งยังสามารถทิ้งจังหวะจากการพรีเซนเทชั่นให้คนที่ฟังสามารถเดินเยี่ยมชมเนื้อหาของงานได้อย่างมีสมาธิ หรือละเลียดกับรายละเอียดของสิ่งละอันพันละน้อยได้อย่างครบถ้วน  ดังนั้นคงเป็นการดีทีเดียวในการนำความเงียบเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดงานอีเว้นท์ รวมถึงการจัดงานสัมมนา และการประชุม โดยเพิ่มมุมสอนโยคะ และการทำสมาธิง่าย ๆ ให้แก่ผู้เข้าชมงานได้ผ่อนคลายจากความเครียด

  1. วัด ROI ด้วยเครื่องมือทางสถิติจากเทคโนโลยียุคใหม่

การวัดความสำเร็จของงานอีเว้นท์ที่เกิดขึ้นในสังคมงานใดงานหนึ่ง สิ่งที่จะทำให้เห็นชัดที่สุด นั่นก็คือการใช้วิธีการวิทยาเพื่อวัดค่าตอบแทนของการลงทุน หรือที่ใครก็พูดกันอย่างย่อ ๆ ว่า ‘ROI’ มาใช้ชี้วัด ถ้าชัดเจนออกมาว่ามีตัวเลขที่สูงย่อมสร้างความปลาบปลื้มใจให้กับผู้บริหารระดับ CMO ของแบรนด์สินค้าได้ นำไปสู่การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อสร้างงานอีเว้นท์ต่อๆ ไป แต่คุณจะใช้วิธีไหนมาเก็บข้อมูลหรือแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมงาน? เอางี้ ในยุคที่โลกเต็มไปด้วยสตารท์อัพ และผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีมากมาย ได้สร้างนวัตกรรมทางแอปพลิเคชั่นที่ใช้ในการวัดความพึงพอใจมากมาย ออแกไนเซอร์สามารถหยิบจับเอาแอปฯ เหล่านี้ไปใช้ได้อย่างสะดวก ก็แค่โพสต์แบบสอบถาม และใช้แอปพลิเคชั่นนั้นตามแทร็คข้อมูล และเก็บแบบสอบถามที่สามารถวัดได้ออกมาเป็นตัวเลขได้อย่างแม่นยำ มาเก็บไว้ใน Big Data แค่นี้ก็สามารถแสดงผลข้อมูลอันหลากหลายในการใช้วัดความสำเร็จ ให้ CEO ใช้เป็นทางออกในการตัดสินใจแล้ว

  1. สร้าง Content Marketing ให้จับใจผู้ร่วมงาน

เชื่อว่าคนในสังคมมักมีความคิดว่า การสร้างอีเว้นท์ขึ้นมาก็เพื่อตอบสนองการเพิ่มยอดขาย แต่ในหัวข้อนี้เราอยากจะบอกว่าสิ่งที่คุณคิดมันไม่ใช่ เพราะเอาเข้าจริงเรื่องของอีเว้นท์มาร์เกตติ้งนั้นไม่ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อขายสินค้าหน้างานแบบงานโอทอปที่คุณเห็นตามเมืองทองฯ แต่มันเป็นเรื่องของกิจกรรมในการสร้างรูปฟอร์มความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้า ให้ได้เห็นข้อเสนอดีๆ อาจตัดสินใจซื้อ หรือถ้าลูกค้ามาร่วมงานแล้วเกิดความรู้สึกที่สามารถเชื่อมต่อกับแบรนด์ พวกเขาก็จะเกิดความจงรักภักดีกับแบรนด์สินค้า และทำการบอกต่อคุณค่าความดีเหล่านั้นไปยังคนอื่นในวงจรชีวิต ซึ่งการสร้างกระบวนการก่อตัวของรูปฟอร์มความสัมพันธ์นี้แหละคือหัวใจของสิ่งที่เรียกว่า Content Marketing อันเป็นเหมือนวิธีคิดทางการตลาดรูปแบบใหม่ที่ได้รับความนิยมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และมันกำลังผลิดอกออกผลสะพรั่ง เจ้าของแบรนด์สินค้า มาร์เกตเตอร์ และอีเว้นท์ออแกไนเซอร์ ทั้งหลายได้เก็บเกี่ยวในปี 2017

  1. การใช้เทคโนโลยี และแอปพลิเคชั่นเพื่อสร้างประสบการณ์รูปแบบใหม่

เทคโนโลยีแอปพลิเคชั่นสามารถสร้างคุณภาพที่ดีขึ้นให้กับทุกธุรกิจ นี่คือความจริงที่ต้องยอมรับ โดยเฉพาะกับอุตสาหกรรมอีเว้นท์ เพราะอย่างที่ทราบมันคือโอกาสที่สามารถสร้างผลิตภาพ (Productivity) ที่ดีขึ้น การจัดการในระบบงานที่มีแบบแผน และการทำงานร่วมกันแบบไร้รอยต่อ คุณเคยคิดตัดสินใจหรือไม่ในการใช้แอปพลิเคชั่นที่มีอยู่เหล่านี้มาช่วยในงานด้านอีเว้นท์มาร์เกตติ้ง? Mobile Event Apps คือแอปพลิเคชั่นที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้เกิดกับผู้เข้าร่วมงาน อย่างไรก็ตามการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยสร้างประสบการณ์ของงานอีเว้นท์ให้ดีขึ้นในยุคนี้ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่เฉพาะแอปพลิเคชั่นเท่านั้น แต่ยังมีอีกสองเทคโนโลยีที่สามารถตอบโจทย์เหล่านี้ได้ นั่นคือเทคโนโลยี Interactive และเทคโนโลยี VR (เพิ่มให้อีกอันคือ AR) นอกเหนือจากสองเทคโนโลยีนี้ อะไรที่ฮอต ๆ ในการกระตุ้นความสนใจในงานเมื่อปีกลาย อย่างเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ก็ยังถูกนำมาใช้อย่างหลากหลายและชาญฉลาดมากขึ้น เพื่อเป็นแพร่ภาพสด Behind the Scene ของงานอีเว้นท์มาให้ชมกันแบบสด ๆ สร้างความน่าตื่นเต้นรูปแบบใหม่ที่คุณสามารถสัมผัสได้

  1. หลอมรวมความต่างเพื่อรสชาติใหม่ให้การจัดงาน

ในปี 2017 อีกหนึ่งเทรนด์ที่เราจะได้เห็นแน่ ๆ ในการจัดอีเว้นท์ ก็คือการหลอมรวมเอาสิ่งที่แปลกแยกมาจับแต่งงานกัน ผสมผสานออกมาเป็นอีเว้นท์รูปแบบใหม่ที่น่าสนใจ สร้างขึ้นจากไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปตามรูปแบบของคนยุคนี้ รูปแบบที่ว่าเกิดจากการผสมผสานกันระหว่างการประชุมสัมนาทางวิชาการแบบ Conventional Style เข้ากับการจัดคอนเสิร์ตที่สามารถทำให้ผู้บรรยายมีลักษณะไม่ต่างจากร็อคสตาร์กันเลยทีเดียว (ส่วนจะถูกเรียกด้วยนิยามศัพท์อย่างไร ก็แล้วแต่คุณจะเลือกให้ความหมาย) รวมถึงอีกรูปแบบนั่นคือ การจัดงานสัมมนาทางธุรกิจในสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ หรือการจัดสัมมนาในร้านไวน์ ร้านอาหาร สปาหรู ๆ เพื่อรองรับรูปแบบการใช้ชีวิตของมนุษย์ทำงานรูปแบบใหม่ที่เราเรียกว่า ‘Bleisure (Bussiness+Leisure)’ นี่คือโจทย์ใหม่สด ร้อน ๆ หอมกรุ่น ที่นักจัดงานหรืออีเว้นท์ออแกไนเซอร์ต้องตามกลิ่นอย่างกระชั้นชิด เพื่อนำมาปรับใช้กับการทำงานเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มใหม่ให้กับองค์กรของตนเองในโลกแห่งความไม่แน่นอน

 

 

_MG_2032

เสริมคุณ คุณาวงศ์ : ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

บริษัท ซีเอ็มโอ จำกัด (มหาชน) :

 

  1. ทิศทางการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมอีเว้นท์

ทิศทางการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมอีเว้นท์ในประเทศไทยมีความเติบโตต่อเนื่อง หลังจากชะลอตัวไปในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2559 โดยเฉพาะในเรื่องของธุรกิจอีเว้นท์ประเภท Entertainment ซึ่งเมื่อผ่าน 100 วัน ในการไว้อาลัยการสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ ๙ แล้ว  เชื่อว่าอีเว้นท์ในกลุ่ม Entertainment จะกลับมามีบทบาทอีกครั้งในปี 2560 ส่วนอีเว้นท์ที่จัดในพื้นที่รีเทลซึ่งเป็นพื้นที่ที่รวมกันมีขนาดหลายหมื่นตารางเมตรจะกลับมาจัดมากขึ้นหลากหลายรูปแบบ ขณะเดียวกันกิจกรรม Corporate Event, Entertainment Event, กิจกรรมการจัดทำซุ้มนิทรรศการในงาน Consumer แฟร์ใหญ่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นในอุตสาหกรรมรถยนต์ทุกค่าย หรืองานมหกรรมทางการเงินของสถาบันการเงิน หรืองานโชว์ด้านอสังหาริมทรัพย์ฯ ก็จะกลับมาคึกคักเหมือนปกติ

นอกจากนี้ ทิศทางการเติบโตของอีเว้นท์ประเทศไทยจะเข้าไปมีบทบาทมากขึ้นในตลาด CLMV (กัมพูชา ลาวเมียนมาร์ และเวียดนาม) โดยมาจากการที่บริษัทผู้ประกอบการธุรกิจของไทยในหลาย ๆ อุตสาหกรรม มีแผนการตลาดที่จะขยายงานไปยังต่างประเทศ ทำให้ต้องมีการจัดกิจกรรมการตลาด ส่งผลให้อีเว้นท์เติบโตไปด้วย

  1. ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่ผู้ประกอบการอีเว้นท์ต้องเผชิญในปี 2017 และทางออกในการรับมือกับปัญหาดังกล่าว

ผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์จะต้องพบปัญหาการแข่งขันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ทั้งการแข่งขันกับบริษัทอีเว้นท์ภายในประเทศ และกับบริษัทอีเว้นท์ต่างชาติ เช่น สิงค์โปร์ ที่จะเข้ามาแข่งขันในประเทศไทย ดังนั้นในส่วนของแนวทางการปรับตัว บริษัทอีเว้นท์ไทยจะต้องเน้นเรื่องการให้บริการและคุณภาพ ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการจัดการบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพด้วย

 

 

 

เกรียงไกร กาญจนะโภคิน : ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

บริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน)  

  1. ทิศทางการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมอีเว้นท์

เทรนด์ในเรื่องของการจัดกิจกรรมที่สามารถเชื่อมโยงระหว่างแบรนด์สินค้าต่าง ๆ กับผู้บริโภคได้มีแนวโน้มการเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป อิทธิพลของสื่อออนไลน์และดิจิทัลที่สามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ร่วมของคนทั่วโลกภายในเวลาอย่างรวดเร็ว รวมถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ใช้ชีวิตอยู่นอกบ้านมากขึ้น เกิดการรวมกลุ่มของสังคมที่เป็นลักษณะคอมมูนิตี้ นิยมเสพความความสด และเชื่อในประสบการณ์จริง ประกอบกับปัจจัยความพร้อมในเรื่องของโครงสร้างต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค เรียกว่าตลาดเมืองไทยเข้าสู่ยุค ‘ดิจิ-ไลฟ์-เอ็กซ์พีเรียนส์’ (Digi-Live Experience) คือ งานจะต้องมีส่วนเกี่ยวโยง มีความเข้าใจในเรื่องของดิจิทัล มีความสดใหม่แบบทันท่วงที และสร้างประสบการณ์ร่วมระหว่างกลุ่มเป้าหมาย และแบรนด์หรือสินค้านั้น ๆ ได้

  1. อุปสรรคสำคัญที่ผู้ประกอบการอีเว้นท์ต้องเผชิญในปี 2017 และทางออกในการรับมือกับปัญหาดังกล่าว

เนื่องด้วยธุรกิจอีเว้นท์เป็นธุรกิจที่ Sensitive หรือเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่าง ๆ อาทิ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ การเมือง และจากเหตุการณ์พิเศษต่าง ๆ ส่งผลให้ต้องมีการปรับรูปแบบการจัดงานเพื่อให้ดำเนินสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันให้มากที่สุด ดังนั้นทางออกที่ผู้ประกอบการอีเว้นท์ในปี 2017 ต้องรับมือ คือ การรู้จักปรับตัว และมีความยืดหยุ่นในการทำงาน ประกอบกับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ส่งผลให้รูปแบบการจัดงานจะต้องดีไซน์ให้ตอบโจทย์กับความต้องการของผู้บริโภคมากที่สุด เพื่อให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย และสามารถสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

 

 

 

อุปถัมภ์ นิสิตสุขเจริญ : กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไร้ท์แมน จำกัด

  1. ทิศทางการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมอีเว้นท์

คาดว่าจะอยู่ในภาวะชะลอตัวหรือไม่ก็คงที่ โดยเมกกะโปรเจกต์ยังต้องพึ่งพาภาครัฐในการขับเคลื่อนให้เกิดงานภายในประเทศ และนำพากิจกรรมอีเว้นท์จากต่างประเทศเข้ามาจัดโดยใช้จุดแข็งของประเทศไทยในด้านต่าง ๆ                  ที่สนับสนุนธุรกิจ MICE เป็นกลไกในการชักชวนนานาชาติให้เลือกเราเป็น Event Destination ในด้านต่าง ๆ

  1. อุปสรรคสำคัญที่ผู้ประกอบการอีเว้นท์ต้องเผชิญในปี 2017 และทางออกในการรับมือกับปัญหาดังกล่าว

จากปัจจัยผลกระทบด้านต่าง ๆ ที่ผ่านมา ทั้งภาวะเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา สถานการณ์และนโยบายต่าง ๆ ภายในประเทศเอง ส่งผลต่อผลประกอบการของงานทางกลุ่มอุตสาหกรรมนี้โดยเฉพาะ งานอีเว้นท์ต่าง ๆ ถือเป็นอุปสรรคที่ต้องรับมือ ในส่วนไร้ท์แมนเองรับมือกับสถานการณ์นี้โดยปรับบทบาทตัวเองเป็นเจ้าของงานอีเว้นท์เสียเอง แทนการรอภาคธุรกิจและโปรเจกต์จากภาครัฐเพียงอย่างเดียว โดยลงทุนร่วมกับพันธมิตรเพิ่มศักยภาพสู่การเป็นผู้รังสรรค์ Experience & Entertainment Theme Park และ Concept Design & Edutainment Show เป็นโครงการทั้งในและต่างประเทศ อาศัยประสบการณ์ครีเอทีฟสั่งสมจากงานอีเว้นท์โชว์ และความชำนาญจากงานพิพิธภัณฑ์และศูนย์การเรียนรู้ จนเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการจัดสร้าง Concept Theme Park ชั้นนำของเมืองไทย และวางแผนขยายงานในอนาคตสำหรับกลุ่มธุรกิจ งานตกแต่งและก่อสร้าง สำหรับกลุ่มลูกค้า Flagship Store และ Special Design Shop

 

 

 

นพัฐห์ ปูคะวนัช : กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอ-ไนน์ จำกัด

_MG_4767

  1. ทิศทางการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมอีเว้นท์

ปัจจุบันการแข่งขันทางตลาดสูงขึ้น ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น จึงเป็นผลให้ผู้ประกอบการต้องทำการตลาดเพื่อกระตุ้นการซื้อสินค้าและบริการในรูปแบบที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดโปรโมชั่น การโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ รวมถึงการทำการตลาดในเชิงกิจกรรม หรือการจัดงานอีเว้นท์ ซึ่งยังคงถือว่าได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงจากผู้ประกอบการ เพราะสามารถสร้างประสบการณ์และการมีส่วนร่วมจากลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง

  1. อุปสรรคสำคัญที่ผู้ประกอบการอีเว้นท์ต้องเผชิญในปี 2017 และทางออกในการรับมือกับปัญหาดังกล่าว

ถึงแม้ผู้ประกอบการยังคงต้องทำการตลาดเพื่อกระตุ้นการขาย แต่จากเศรษฐกิจที่หดตัวลง ทำให้มีงบประมาณจำนวนจำกัด ช่องทางการตลาดมีเพิ่มมากขึ้น ทำให้ส่วนแบ่งทางการตลาดของงานอีเว้นท์ถูกแบ่งไปทางช่องทางอื่น ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของ Digital Marketing เพราะฉะนั้นเพื่อรับมือกับปัญหาดังกล่าว เราจึงต้องเพิ่มรูปแบบการให้บริการไปในทิศทางที่สอดคล้องกันเพื่อตอบโจทย์ผู้ประกอบการให้มากที่สุด

 

 

 

วราพรรณ ทรัพย์ธนะอุดม : กรรมการผู้จัดการ บริษัท พรีเซนเทีย จำกัด

  1. ทิศทางการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมอีเว้นท์

จากศักยภาพของผู้ประกอบการ เราน่าจะได้เห็นโอกาสเติบโตอีกมากสำหรับอีเว้นท์ไทยในต่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่ม AEC ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายการสนับสนุนจากภาครัฐที่จะช่วยสร้างโอกาสและส่งเสริมการลงทุน หรือดำเนินการร่วมกัน  ส่วนงานอีเว้นท์ภายในประเทศ แนวโน้มน่าจะเป็นอีเว้นท์ที่รวมเอาความเป็นโซเชียลมีเดียเข้ามาผสมผสานมากขึ้น และมีเนื้อหาที่มุ่งเน้นไปในด้านการพัฒนาจิตสำนึกควบคู่กันไป เป็นเรื่องของภาพพจน์องค์กรมากกว่าจะเน้นเรื่องของยอดขายโดยตรง

 

 

  1. อุปสรรคสำคัญที่ผู้ประกอบการอีเว้นท์ต้องเผชิญในปี2017 และทางออกในการรับมือกับปัญหาดังกล่าว

สำหรับงานอีเว้นท์ในต่างประเทศ ปัญหาคงเป็นเรื่องการสื่อสารระหว่างบุคลากร โดยเฉพาะในระดับการผลิต เราต้องพัฒนาความเชี่ยวชาญด้านการใช้ภาษากลางหรือพื้นฐานภาษาท้องถิ่นของประเทศเพื่อนบ้านให้มากขึ้น ส่วนงานอีเว้นท์ภายในประเทศจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ของบ้านเมืองซึ่งอยู่ในช่วงแสดงความอาลัย แนวทางการใช้งบประมาณขึ้นอยู่กับกลุ่มธุรกิจ ประเภทของงาน และพฤติกรรมของผู้บริโภค แนวโน้มอาจจะลดลงบ้างสำหรับการตลาดที่ต้องการส่งเสริมการขายระยะสั้น ต้องผสมผสานกับการใช้โซเชียลมีเดียให้ได้ประโยชน์มากที่สุด แต่หากมองอุปสรรคให้เป็นโอกาส สิ่งเหล่านี้ทำให้คนอีเว้นท์ต้องดึงศักยภาพจากประสบการณ์ผนวกกับเทคโนโลยีการสื่อสารที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างสรรค์ วางแผน และจัดการรับมือกับโจทย์ที่ได้รับมาอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม เพราะอีเว้นท์ที่ฉลาด คืออีเว้นท์ที่พอดี และพอเพียง

 

 

 

SONY DSC

เนตรนิภา สิญจนาคม : กรรมการผู้จัดการ บริษัท เซ็นทรัม จำกัด

  1. ทิศทางการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมอีเว้นท์

อุตสาหกรรมอีเว้นท์เป็นอุตสาหกรรมที่อยู่ในกลุ่มบริการและการสร้างสรรค์ ที่สามารถพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายที่ภาครัฐให้การสนับสนุน จึงเชื่อว่าธุรกิจอีเว้นท์จะยังคงต้องเติบโตและพัฒนาต่อไปในอีกหลากหลายมิติ ทั้งมิติที่เป็นผู้ให้บริการ และมิติของการเป็นเครื่องมือของผู้ให้บริการ และที่สำคัญอีเว้นท์ยังทำหน้าที่เป็นเครื่องมือให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ ในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตและก้าวหน้ามากขึ้น

  1. อุปสรรคสำคัญที่ผู้ประกอบการอีเว้นท์ต้องเผชิญในปี 2017 และทางออกในการรับมือกับปัญหาดังกล่าว

การปรับตัวและเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลง เป็นอุปสรรคสำคัญ แต่สิ่งที่จะช่วยให้ผ่านพ้นไปได้คือประสบการณ์ ความรู้และคุณภาพ  การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และนำมาพัฒนาต่อยอด รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ไม่เฉพาะแต่ธุรกิจอีเว้นท์เท่านั้น การนำความรู้มาพัฒนาด้วยประสบการณ์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานให้มีคุณภาพ มีเอกลักษณ์ เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย จึงน่าจะเป็นทางออกของธุรกิจ และที่สำคัญอยากให้มองทุกอุปสรรคให้เป็นโอกาส ที่ท้าทาย ที่เราทุกคนจะต้องก้าวข้ามผ่านไปให้ได้

 

 

 

_MG_8325

อิทธิพล สุรีรัตน์ : กรรมการผู้จัดการ บริษัท แม่น้ำร้อยสาย จำกัด

  1. ทิศทางการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมอีเว้นท์

โดยภาพรวมคงทรง ๆ ตัว หรือถ้าเติบโตก็คงไม่มาก เนื่องจากประเทศไทยและทั้งโลก อยู่ในสภาวะหยุดนิ่งทางการขยายตัวทางเศรษฐกิจ จากสภาพปัจจัยภายนอกในการเปลี่ยนผู้นำคนใหม่ของสหรัฐอเมริกาที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด และปัจจัยภายใน ทั้งปัญหาการเกษตรตกต่ำ และบรรยากาศในช่วงการถวายอาลัย ที่ประชาชน ผู้บริโภค ยังไม่พร้อมในการจัดกิจกรรมทางการตลาด และงานบันเทิงต่าง ๆ ซึ่งคงต้องรอให้พ้นงานพระเมรุไปก่อนจึงน่าจะเข้าสู่สภาวะปกติ

  1. อุปสรรคสำคัญที่ผู้ประกอบการอีเว้นท์ต้องเผชิญในปี 2017 และทางออกในการรับมือกับปัญหาดังกล่าว

เรามุ่งสู่ 2 ตลาดที่สำคัญ คือ ตลาดลูกค้าต่างประเทศ ในเชิง MICE ที่ผนวกเรื่องการท่องเที่ยวเข้าไปในโปรแกรมงาน เช่น ลูกค้าในกลุ่ม Incentive, International Conference, Award Gala Night อีกกลุ่มเป็น กลุ่มลูกค้าเชิง Corporate Events และ Award ceremony ที่ต้องมีกิจกรรมในเชิงสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ การประกาศนโยบาย และกิจกรรมสร้างการรับรู้ให้กับฝ่ายขาย ตัวแทนจำหน่ายหรือหุ้นส่วนทางธุรกิจ  ที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจทั้งในเชิง Knowledge Training, Motivation ผ่านกิจกรรมที่ออกแบบเป็นพิเศษ พร้อมสอดแทรกเป้าหมายขององค์กรเข้าไป นอกจากนั้นยังนำเอาเรื่อง Digital Interaction มาผนวกเข้าไปในกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านมือถือ เพื่อให้เข้าถึงได้กว้างและลึกยิ่งขึ้น

 

 

 

ทวีสุข วิศุภกาญจน์ : กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีไซน์ วิซาร์ด จำกัด

  1. ทิศทางการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมอีเว้นท์

จะมีการสร้างสรรค์งานในรูปแบบใหม่ ๆ ออกมา อาจจะเรียกว่าเป็นแบบ Hybrid ก็ได้ คือมีการ Interaction กันระหว่างผู้ชมที่ Live กันอยู่ใน Event กับผู้ชมทาง Online ผ่านทาง Device ต่าง ๆ,  ด้วยประโยชน์จากความรวดเร็วของเทคโนโลยี 4G/HiSpeed Data/ Live Streaming ต่าง ๆ ทำให้กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในอีเว้นท์ได้จากทุก ๆ ที่ ไม่มีข้อจำกัดในการเข้าถึง

  1. อุปสรรคสำคัญที่ผู้ประกอบการอีเว้นท์ต้องเผชิญในปี 2017 และทางออกในการรับมือกับปัญหาดังกล่าว

นอกจากเรื่องการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทย และการส่งเสริมจากภาครัฐและเอกชน ที่ยังคงไม่มีปริมาณเพิ่มขึ้นมากนักแล้ว ในยุคที่ผู้บริโภคกลายเป็น Prosumer มีการเข้าถึงข้อมูลสินค้า/ข่าวสารได้อย่างรวดเร็วนั้น อุปสรรคหรือโอกาสของอุตสาหกรรมอีเว้นท์ที่สำคัญอีกประเด็นคือ เรื่องของ ‘Content’ หรือ ‘Creative Idea’ สำหรับงาน Eventนั้น ๆ ที่จะต้องพัฒนา ดึงความสนใจให้กลุ่มเป้าหมายให้อยู่กับเนื้อหาและ Key Message และเข้าร่วมมี Brand Experience ตรงกับอีเว้นท์ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญในการที่จะทำให้อีเว้นท์นั้นประสบความสำเร็จได้ตามเป้าหมายของลูกค้า

 

 

 

พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ : กรรมการผู้จัดการ บริษัท โชว์ไร้ขีด จำกัด

  1. ทิศทางการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมอีเว้นท์

อุตสาหกรรมอีเว้นท์จะเติบโตต่อในทิศทางแห่งความร่วมมือระดับนานาชาติ งานมหกรรมหัวนอกจะเริ่มเข้ามาตีตลาดไทย ผ่านความร่วมมือกับบริษัทใหญ่ โดยเฉพาะธุรกิจสื่อที่ต้องหนีตายจากวงจรการกัดก้อนเกลือกิน แต่จะเกิดการบูรณาการเพื่อเอาตัวรอด ระหว่างสื่อหลัก-ออนไลน์ และอีเว้นท์ ซึ่งเห็นภาพชัดในด้านการวัดผลและตรงกลุ่มเป้าหมาย อีเว้นท์สำหรับงาน Call to Action จะเกิดขึ้นเพื่อสร้างยอดขาย, งานสัมมนาจะโตต่อเพราะผู้คนให้ความสำคัญกับการเรียนรู้เพิ่ม, สถาบันการศึกษาที่สมาคมอีเว้น์ไปลงแรงไว้เพื่อสร้างหลักสูตรจะเริ่มผลิตบุคลากรที่ตรงสาย มีความรู้เฉพาะเข้าสู่บริษัท องค์กรต่าง ๆ

  1. อุปสรรคสำคัญที่ผู้ประกอบการอีเว้นท์ต้องเผชิญในปี 2017 และทางออกในการรับมือกับปัญหาดังกล่าว

ในปี 2017 กิจกรรมทางการตลาดต่าง ๆ ต้องกลับมาใช้งบอัดฉีดตลาดจนเข้าที่ แล้วก็จะมีช่วงกลับไปซึมบ้างในระหว่างกลางปี หลังจากนั้นก็จะกลับมาคึกคักอีกครั้ง เพราะตลาดต้องการความรื่นเริงอันสืบเนื่องจากการเปลี่ยนผ่านสู่รัชสมัย ใหม่อย่างสมบรูณ์แบบ ภาครัฐน่าจะกลับมาทำงานเชิงรุกอย่างครึกโครม สอดคล้องกับยุค Digital Economy ที่มีดีกรีความร้อนแรง ทั้งในแง่ให้ความรู้ประชาชน และกระตุ้นตลาดให้เกิดการรับรู้และมีส่วนร่วม  แต่อาจมีปัจจัยห่วงบ้างใน 2 เรื่อง หนึ่ง คือ ภาพรวมเศรษฐกิจโลกหลังการขึ้นสู่ตำแหน่งของโดนัลด์ ทรัมป์ ถ้าเขาทำให้เป็นบวกได้ ทั่วโลกก็จะได้ประโยชน์ด้วย และความน่าห่วงอีกประการคือสถานการณ์การกระทบกระทั่งของประเทศมหาอำนาจที่บริษัทใหญ่ทั่วโลกกำลังกังวลต่อภาวะสงคราม แต่ถ้าโชคดีไม่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรง ในปี 2017 งบประมาณจากแบรนด์ต่าง ๆ ก็ยังคงถูกนำออกมาใช้สอยอย่างเต็มรูปแบบแน่นอน

 

 

 

1

สมชาย นิติมงคลชัย : ประธานบริหาร บริษัท แอคทิวิทีน ครีเอชั่น จำกัด

  1. ทิศทางการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมอีเว้นท์

จะมีอีเว้นท์บางประเภทถูกลดความสำคัญลง ลูกค้าจะหันไปให้ความสำคัญในเรื่องโซเชียลมีเดียมากขึ้น งานประเภท One Day Event จะมีน้อยลงเรื่อย ๆ แต่คลิปวิดิโอที่แนะนำสินค้าในรูปแบบต่าง ๆ จะปรากฏในโลกของโซเชียลมีเดียมากขึ้น ลงทุนในการผลิตคลิปมากขึ้น ทั้งเนื้อเรื่อง ทั้งนักแสดง ปรุงแต่ง สร้างสรรค์  ไม่ได้เป็นคลิปดิบ ๆ เหมือนในสมัยก่อน ซึ่งลูกค้าเลือกใช้วิธีการนี้ในการสร้างกระแส สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้รวดเร็ว และกระจายข่าวสารได้กว้างมากขึ้น โทรศัพท์มือถือกลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการติดตามข่าวสารต่าง ๆ การมาของโซเชียลมีเดียในยุค 4G จะกระทบกระเทือนอุตสาหกรรมอีเว้นท์ และสื่อโฆษณาในรูปแบบเดิม ๆ จึงต้องปรับตัวให้ทันถึงจะรอดครับ

  1. อุปสรรคสำคัญที่ผู้ประกอบการอีเว้นท์ต้องเผชิญในปี 2017 และทางออกในการรับมือปัญหาดังกล่าว

ลูกค้าใช้งบประมาณในการทำอีเว้นท์น้อยลง และหันไปให้ความสำคัญของโซเชียลมากขึ้น ประมาณว่าลงทุนน้อยกว่าแต่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่า สิ่งที่ผู้ประกอบการอีเว้นท์ต้องปรับตัว คือต้องพยายามสร้างงานอีเว้นท์ให้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำโซเชียลมีเดียพ่วงไปด้วย เหมือนสร้างงานอีเว้นท์เพื่อลงในโลกโซเชียลนั่นล่ะ ลูกค้าวัดผลได้จากยอดวิว ยอดไลค์ ยอดแชร์ ในกิจกรรมที่เราทำ ซึ่งมันก็มีความเสี่ยงในผลสำเร็จของกิจกรรมด้วย เพราะถ้ารูปแบบอีเว้นท์หรือกิจกรรมไม่น่าสนใจหรือไม่ตอบโจทย์ ลูกค้าก็จะวัดผลจากยอดวิว ยอดไลค์ ยอดแชร์ เหมือนกัน ดังนั้นการทำอีเว้นท์ทุกรูปแบบในยุค 4G ครองโลก ต้องให้ความสำคัญกับโซเชียลมีเดียมากขึ้นไปด้วย ต้องหารูปแบบการทำงานให้ตรงใจกับกลุ่มเป้าหมายแบบชัดเจน ตรงกลุ่ม ถึงจะอยู่รอดครับ

 

 

 

IMG_9884

บุษยา ประกอบทอง : ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอ็น.ซี.ซี. เอ็กซิบิชั่น ออกาไนเซอร์

  1. ทิศทางการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมอีเว้นท์

ทิศทางของอุตสาหกรรมอีเว้นท์ในประเทศไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปีที่ผ่านมาจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบกิจกรรมให้มีความหลากหลายและแปลกใหม่มากขึ้น อาทิ คอนเสิร์ต EDM, ละครเวที, การแสดง Visual Effect ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ให้เข้ากับงาน เพื่อสร้างเอกลักษณ์ของงานให้มากขึ้น และประเภทอีเว้นท์ที่โดดเด่นในปี 2016 ได้แก่ อีเว้นท์ด้าน Sports Tourism (วิ่ง จักรยาน ไตรกีฬา ฯลฯ) มีการเติบโตเป็นอย่างมาก ตามกระแสการรักษาสุขภาพและการสนับสนุนจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน

2. อุปสรรคสำคัญที่ผู้ประกอบการอีเว้นท์ต้องเผชิญในปี 2017 และทางออกในการรับมือกับปัญหาดังกล่าว

กระแสด้าน Sports Tourism และ EDM Music มีการเติบโตอย่างรวดเร็วและมีแข่งขันที่สูงในตลาด ซึ่งอาจทำให้เกิดการอิ่มตัวของผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว จึงเป็นโจทย์ที่สำคัญของผู้จัดงานที่จะสร้างงานที่มีความแตกต่างให้กับงานที่จัดขึ้น ซึ่งทางออกสำหรับปัญหาดังกล่าว คือ ผู้จัดงานจะต้องมีความคิดในการสร้างสรรค์งานรูปแบบใหม่ ๆ ให้สอดคล้องกับเทรนด์ของผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะมากขึ้น เพื่อสร้างเอกลักษณ์และความแตกต่าง

 

 

 

Wisara 1

โสฬส นันทวัฒน์ศิริ : กรรมการผู้จัดการ บริษัท วิศรา แอ๊ดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด

  1. ทิศทางการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมอีเว้นท์

แนวโน้มน่าจะเป็นในทางที่ดี คือ มีโอกาสในการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะลูกค้ามีแนวโน้มมาใช้กลยุทธ์ Below the Line มากกว่า Above the Line ซึ่งเป็นเทรนด์ใน 2-3 ปีที่ผ่านมา หรือไม่ก็ใช้ทั้ง 2 ประเภทควบคู่กันไป ตัวอย่างเช่น ในการออกสินค้าใหม่ ลูกค้ามักต้องการเพิ่ม Product Trial Rate โดยการ Roadshow + Free Sampling เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้มีโอกาสลองผลิตภัณฑ์ ควบคู่กับการยิงหนังโฆษณาไปด้วย

  1. อุปสรรคสำคัญที่ผู้ประกอบการอีเว้นท์ต้องเผชิญในปี 2017 และทางออกในการรับมือกับปัญหาดังกล่าว

ปัญหาคิดว่าน่าจะเป็น ลูกค้าบางรายมีทีมงาน In House ของบริษัทเอง ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้ Outsource อีกต่อไป ลูกค้าส่วนใหญู่รู้ราคาในแต่ละไอเทมทำให้มาร์จิ้นต่องานน้อยลง และการแข่งขันค่อนข้างสูงมากเมื่อเทียบกับแต่ก่อน เพราะมีบริษัทฯ เจ้าเล็ก ๆ เกิดขึ้นมากมายในแต่ละปี

 

mkteventmag
No Comments

Post a Comment