Top

PAPADA KhonKaen Art & Esan Craft

PAPADA KhonKaen Art & Esan Craft

โดย : ดร.ดลฤทัย โกวรรธนะกุล

ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศอุตสาหกรรมไมซ์และอีเว้นท์เชิงธุรกิจ

 

สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่านทุกท่าน ฉบับนี้ท่านผู้อ่านมาพบกับ ดิฉัน ดร.ดลฤทัย โกวรรธนะกุล ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศอุตสาหกรรมไมซ์และอีเว้นท์เชิงธุรกิจ (Centre of Excellence in MICE & Business Events Industry – CEMBEI) ประเด็นของฉบับนี้คือ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน การสร้างแบรนด์ และวิธีคิดเพื่อเพิ่มมูลค่าและต่อยอดธุรกิจ โดยเฉพาะแบรนด์สินค้าของที่ระลึกที่นำเอาอัตลักษณ์ความเป็นตัวตนคนอีสานมาใช้ในการออกแบบได้อย่างน่าสนใจ และเจาะตลาดเฉพาะ (Niche Market) โดยเฉพาะกลุ่มผู้จัดงานประชุมมืออาชีพ (Professional Conference Organizer) ที่มีความจำเป็นต้องเลือกของที่มีเอกลักษณ์สำหรับการจัดงานของตนเองในแต่ละครั้งเพื่อสร้างความแตกต่าง

image3

PAPADA KhonKaen Art & Esan Craft ปลายปี 2552 คุณปภาดา พรหมลักขโณ กลับจากเดินทางทำบุญและท่องเที่ยวหลังแต่งงานได้ซื้อหมอนใบชาและสมุนไพรจากเชียงใหม่มาใช้แล้วถูกใจพอดีกับที่ขอนแก่นจะเปิด “ตลาดถนนคนเดิน” จึงตัดสินใจนำหมอนใบชา, สมุนไพรลูกประคบ และเซรามิคขัดผิวมาวางขายเป็นเจ้าแรก ลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มคนรักสุขภาพ หลายคนเชียร์ให้เปิดร้าน..เริ่มวางแผนเปิดร้านเล็ก ๆ ในปี 2554 ร้านเล็ก ๆ ติดรั้วเทศบาลนครขอนแก่นตรงข้ามโรงแรมโซฟิเทล ราชา ออคิด ขอนแก่น (ปัจจุบันคือ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออคิด) คือจุดเริ่มต้นการทำงานผ้า PAPADA ตัดสินใจเลือกผ้าขาวม้า เพื่อสื่อถึงความเป็นมิตรและความสดใส สื่อสารผ่านงานทำมือสไตล์ญี่ปุ่น เลือกใช้ผ้าคุณภาพเยี่ยมของ “พาคาเมี่ยน” ซึ่งเมื่อปี 2554 ยังไม่เป็นที่รู้จักในจังหวัดมากนัก ใช้เวลาทำความเข้าใจกับคนขอนแก่นปีกว่า ๆ ว่าผ้าขาวม้าสามารถนำใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย และใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน

 

papada1

PAPADA โชคดีที่ได้พบเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ เช่น การออกแบบลายจากร้านกรีนธีม, การต่อผ้าแบบญี่ปุ่นจากคุณโคซูเอะ และฮานาโกะ TONATA และพี่แต๋ว อดีตผู้ตรวจสอบบัญชีที่ลาออกมาดูแลคุณแม่ที่ไม่สบาย รวมถึงการแลกเปลี่ยนไอเดียกับคุณแอน เจ้าของพาคาเมี่ยน ทั้งหมดล้วนเป็นพันธมิตรที่กลมเกลียว

ปัจจุบันมีชิ้นงานหลายชิ้นที่มีหลาย ๆ ท่านช่วยแนะนำ ปรับปรุง และทำชิ้นงานร่วมกันในแบบของ PAPADA เช่น ไม้หนีบ, หมี, ช้าง และไดโนเสาร์ จากผ้าขาวม้าฝ้าย ส่วนชิ้นงานที่คุณปภาดา เลือกมาใช้สำหรับงานประชุมสัมมนา ตัวอย่างเช่น ผ้าดิบ ผ้าขาวม้า และผ้าอีกหลากหลายชนิด โดยเพิ่มเทคนิคการปัก การพิมพ์ลาย ซึ่งล้วนแล้วแต่มาจากเอกลักษณ์ของจังหวัดขอนแก่น หรือลายโลโก้ของหน่วยงานที่ต้องการให้จัดทำในรูปแบบของกระเป๋าเอกสาร กระเป๋าโน้ตบุ๊ค กระเป๋าแทบเลต และอื่น ๆ อีกมากมายตามที่ผู้จัดต้องการสั่งทำ

234

papada2IMG_0243

26 มีนาคม 2557 จดทะเบียนการค้า และตั้งใจเดินหน้าสร้างสินค้าคุณภาพ / 14 ตุลาคม 2557 ได้รับประกาศนียบัตรร้านที่ได้รับมาตรฐานรับรองในโครงการจาก “ขอนแก่นแบรนด์” ตรารับรองคุณภาพสินค้าจากหอการค้าจังหวัดขอนแก่น

และในปี 2559 นี้ คุณปภาดาตั้งใจขยับตัวเองจากร้านแฮนด์เมด ไปสู่ร้านสินค้าที่ระลึกประจำจังหวัด โดยมีจุดมุ่งหมายคือการแนะนำให้ชาวโลกได้รู้จัก “จังหวัดขอนแก่น” มากขึ้น โดยการอนุรักษ์วัฒนธรรมผ้าด้วยชิ้นงานทุกชิ้น และจะพัฒนาชิ้นงานให้มีความเป็นขอนแก่นชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อทุกท่านที่ได้มาเยือนจะประทับใจ และพาคนที่ท่านรักและปรารถนาดีกลับมาเยี่ยมเยียนจังหวัดขอนแก่นอีกหลาย ๆ ครั้งค่ะ

 

ที่มา : คุณปภาดา พรหมลักขโณ เจ้าของร้าน PAPADA KhonKaen Art & Esan Craft, 2559

ดลฤทัย โกวรรธนะกุล. (2559). การพัฒนาแนวคิดแผนแม่บทศักยภาพคลัสเตอร์อุตสาหกรรมไมซ์ จังหวัดขอนแก่น สู่การเป็นศูนย์กลางอาเซียน. มหาวิทยาลัยขอนแก่น : ขอนแก่น. ดลฤทัย โกวรรธนะกุล. (2559).การจัดการความรู้เมืองท่องเที่ยวเชิงธุรกิจไมซ์ จังหวัดขอนแก่น สู่การเป็นศูนย์กลางประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ : กรุงเทพมหานคร.

 

 

mkteventmag
No Comments

Post a Comment